วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตลาดตอนที่ 111 เรื่อง บทสรุป 7 ประการในการสร้างแรงจูงใจ

เรื่อง บทสรุป 7 ประการในการสร้างแรงจูงใจ
ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม

                สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านเรามาดูบทสรุปของธุรกิจในการสร้างแรงจูงใจกันนะครับว่าการที่บริษัทจะสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บรรลุสู่วัตถุประสงค์ของบริษัทและของแต่ละบุคคลที่เป็นพนักงานขายแล้ว พนักงานขายจำต้องได้รับการจูงใจ ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายอย่างมากที่สุด และเป็นงานที่สำคัญมากที่สุด สำหรับผู้จัดการฝ่ายขาย ตอนนี้จะพูดถึงโปรแกรมรวมที่มีองค์ประกอบ 7 ประการในการจูงใจพนักงานขายอย่างประสบความสำเร็จกันนะครับ

                องค์ประกอบอย่างแรกเกี่ยวข้องกับความเข้าใจคอนเซ็ปท์การจูงใจ ส่วนประสมการจูงใจซึ่งประกอบไปด้วยประเภทกว้างๆ 7 ประเภทถูกนำมาใช้ ประเภทหนึ่งที่สำคัญมากได้แก่รางวัล รางวัลอาจแบ่งเป็นผลลัพธ์ภายนอก (การจ่ายค่าตอบแทนที่มีตัวตน) และผลลัพธ์ภายใน (การจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่มีตัวตน)
                องค์ประกอบประการที่สองในโปรแกรมการจูงใจได้แก่วัฒนธรรมผลการปฏิบัติงานระดับสูง วัฒนธรรมการขายหมายถึงการรวมกันของพฤติกรรม ค่านิยม ความคิด และอุปนิสัยอื่นๆ ไม่ว่าอย่างใดหรือความสามารถที่ร่วมปันหรือหาได้มาในฐานะสมาชิกของหน่วยงานขาย พนักงานขายแต่ละคนในวัฒนธรรมการขายแห่งผลการปฏิบัติงานระดับสูงจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองและในงานของพวกเขา ประสานกับเพื่อนร่วมงานของเขา และแข่งขันกันภายในกลุ่ม

                ประการที่สาม พนักงานขายมีความต้องการพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้พนักงานขายมีความต้องการทำงานมากขึ้น

                ความเข้าใจว่าพนักงานขายต้องรู้ สิ่งที่อยู่ในใจพวกเขาเป็นองค์ประกอบประการที่สี่ ทฤษฎีความคาดหวังถูกใช้เพื่ออธิบายพฤติกรรมการทำงาน พนักงานขายจะสำรวจทางเลือก   พฤติกรรมและข้อได้เปรียบที่สิ่งผลมาจากการเลือกพฤติกรรมบางอย่างที่ผู้ประกอบการต้องสร้างเพื่อนำความสำเร็จมาสู่ธุรกิจ

                การรู้ทฤษฎีการจูงใจอย่างเดียวไม่เพียงพอ ส่วนที่ห้าของโปรแกรมการจูงใจเกี่ยวข้องกับการรู้จักกับพนักงานขายเป็นการส่วนตัว พนักงานขายที่แตกต่างกันจะต้องการเทคนิคการจูงใจที่แตกต่างกัน ผู้จัดการฝ่ายขายต้องการสร้างความเข้าใจในตัวพนักงานขายที่ความต้องการของพวกเขาสามารถได้รับการตอบสนองโดยการทำงานเพื่อบริษัท

                การสอนงานการจูงใจที่เหมาะสมเป็นองค์ประกอบประการที่หกของโปรแกรมการจูงใจ การขาดการสอนงานหรือการสอนงานที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้พนักงานขายประสบกับความรับรู้ที่ผิดพลาดเกี่ยวกับงานและความขัดแย้งเกี่ยวกับบทบาท และความคลุมเครือด้านบทบาท การสอนงานจะเสริมการติดต่อส่วนบุคคลระหว่างพนักงานขายและผู้บริหารรวมทั้งทำให้ผู้บริหารสามารถส่งอิทธิพลต่อพนักงานขายได้

                การมองในแง่ความเป็นจริงเกี่ยวกับการจูงใจพนักงานขายเป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม การจูงใจทั้งหมดในขั้นสุดท้ายจะถูกสร้างขึ้นโดยตัวเอง ดังนั้นผู้บริหารจึงสามารถทำได้เพียงปริมาณการจูงใจภายนอกที่จำกัด นอกจากนี้ แต่ละบุคคลยังได้รับการจูงใจแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น ผู้บริหารจะไม่สามารถจูงใจสมาชิกทั้งหมดในหน่วยงานขายได้โดยทันที พวกเขาควรทำให้ดีที่สุดเพื่อส่วนรวมนะครับ

สนใจข้อมูลทางธุรกิจเพิ่มเติม ค้นหาข้อมูลได้ที่ www.dollarsrich.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น