วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตลาดตอนที่ 37 การวิเคราะห์ลูกค้าสำหรับการทำการตลาดแบบตรง

เรื่อง การวิเคราะห์ลูกค้าสำหรับการทำการตลาดแบบตรง
(ตอนที่ 2-การจัดการข้อมูลของลูกค้า)

ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม

 สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในตอนนี้จะเป็นการเสนอขั้นตอนในการจัดการข้อมูลของลูกค้าซึ่งต่อากตอนที่แล้วนะครับโดยในการจัดการข้อมูลของลูกค้า มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้คือ

        ขั้นที่ 1  การรวบรวมข้อมูลลูกค้า
        ขั้นที่ 2 การเรียบเรียงข้อมูล
        ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

                ขั้นที่ 1 การรวบรวมข้อมูลลูกค้า
                ในการรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการสามารถรวบรวมข้อมูลได้จาก 2 แหล่งคือ
1.             การรวบรวมข้อมูลจากภายในบริษัทเอง เป็นการรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในองค์กรเกี่ยวกับลูกค้าขององค์กร เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงินและฝ่ายการคลังและจัดส่งสินค้าที่เกี่ยวข้องในการจัดเก็บฐานข้อมูลของลูกค้า
2.             การรวบรวมข้อมูลจากภายนอกบริษัท อาจดำเนินการได้จากการซื้อฐานข้อมูลจากที่ต่าง ๆ หรือแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลกับพันธมิตรทางธุรกิจก็ได้

ขั้นที่ 2 การเรียบเรียงข้อมูลลูกค้า
                โดยเน้นความชัดเจนในการเก็บข้อมูล การดูแลและปกป้องข้อมูล ความชัดเจนของข้อมูล    การรับและการโอนข้อมูล ผู้ประกอบการต้องเน้นการเอาเครื่องมือ ที่เรียกว่า STP Analysis

                การเรียบเรียงข้อมูลด้วยวิธีการการแบ่งส่วนตลาด 
               
S-Segmentation การแบ่งส่วนตลาด ในการแบ่งส่วนตลาดผู้ประกอบการต้องศึกษาก่อนว่าสินค้าของตนเองเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าอุตสาหกรรม เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดประกอบไปด้วย
                - ลักษณะทางประชากรศาสตร์ จะพิจารณาจากลักษณะของลูกค้าจากเพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เป็นต้น
- ลักษณะทางภูมิศาสตร์ จำแนกจากความหนาแน่นของประชากร ภูมิภาค เขต เป็นต้น
- ลักษณะทางจิตวิทยา จำแนกจากรูปแบบในการดำรงชีวิต ชนชั้นทางสังคม เป็นต้น
- ลักษณะทางพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ผู้ประกอบการสามารถจำแนกได้จาก ประเภทของสินค้า สถานที่ เวลา ความถี่ ปริมาณ หรือจำนวนเงินที่ซื้อแต่ละครั้ง

                ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
                T-Targeting ตลาดเป้าหมาย ก่อนอื่น ผู้ประกอบการต้องศึกษาก่อนว่าตลาดที่จะจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้าในกลุ่มใด เราจะสามารถแบ่งตลาดเป้าหมายออกเป็น 2 แบบคือ
                1. ตลาดเป้าหมายหลัก
                2. ตลาดเป้าหมายรอง

การเรียบเรียงข้อมูลด้วยวิธีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์  
P-Positioning การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการสามารถจำแนกได้จาก วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle: PLC) และ แผนที่ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning Map) โดนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มีระยะต่าง ๆ 4 คือ ขั้นแนะนำ ขั้นเจริญเติบโต ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ หรือขั้นถดถอยหรือตกต่ำ
                ส่วนแผนที่ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning Map) เราจะเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันเป็นหลัก เพื่อประเมินศักยภาพของบริษัท เพื่อการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
                นอกเหนือจากการเรียบเรียงข้อมูลของผู้ประกอบการแล้วนั้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการต้องมีการเก็บข้อมูลลูกค้าโดยเน้นข้อมูลของลูกค้า และ เน้นการเก็บข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้นเพราะหากมากเกินไป อาจเป็นการรบกวนลูกค้าได้
สนใจข้อมูลทางธุรกิจเพิ่มเติม ค้นหาข้อมูลได้ที่ www.dollarsrich.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น