วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตลาดตอนที่ 62 การวางแผนการขายกับเงื่อนไขทางการเงินของบริษัท (ตอน 2 )

เรื่อง การวางแผนการขายกับเงื่อนไขทางการเงินของบริษัท (ตอน 2 )
ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น
คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม


 สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ตอนนี้เป็นต่อเนื่องจากตอนที่แล้วนะครับ ประเด็นหลัก ๆ ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในแผนการขายก็คือ
-  ปริมาณรายได้ต่อเดือน
                -  กำไรโดยรวมเป็นเปอร์เซ็นต์การขายต่อเดือน
-  ผลลัพธ์รายได้ต่อเดือน
-  ผลลัพธ์รายได้ต่อพนักงานขายต่อคนต่อเดือน
-  ขนาดของยอดสั่งซื้อโดยเฉลี่ยต่อเดือน
-  การโฆษณาเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์การขายต่อเดือน
-  ปริมาณสินค้าที่ตอบแทนกลับมาต่อเดือน
-  จำนวนของบัญชีลูกค้าใหม่ต่อเดือน
-  ส่วนแบ่งของตลาดตามไตรมาส
-  จำนวนคำร้องเรียนต่อเดือน
-  ปริมาณการฝึกอบรมต่อไตรมาส (วัน)
-  จำนวนวันในการฝึกอบรมต่อปี
-  บัญชีลูกค้าที่เสียเปล่าต่อเดือน
-  การติดต่อทำการขายรายเดือนโดยเฉลี่ยต่อตัวแทนการขายหนึ่งราย เป็นต้น
                จากรายการดังกล่าวนั้นผมเองก็พยายามรวบรวมให้ครบมากที่สุดนะครับที่ผู้ประกอบการทั้งหลายควรคำนึงถึง บางบริษัทอาจมากหรือน้อยกว่านี้ก็วิเคราะห์เองตามสมควรนะครับ  ฝ่ายจัดการจะระบุลงไปถึงเป้าหมายหลักสำหรับพนักงานขาย  ด้วยวัตถุประสงค์หลักที่ระบุไว้และด้วยกระแสของสภาวะแวดล้อมที่ตระหนักได้ ผู้ประกอบการจะอยู่ติดกับตำแหน่งในการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับปีที่กำลังจะมาถึง  ด้วยการระบุลงไปอย่างเหมาะสมแล้ว วัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องสามารถวัดได้ (มิฉะนั้นพนักงานขายจะรู้ได้อย่างไรว่าตนทำงานสำเร็จ) จะเป็นตัวกำหนดถึงปริมาณบางอย่างที่ต้องเข้าถึง (หากว่ามันง่ายเกินไป มันก็ไม่คุ้มค่า) แต่จะสามารถบรรลุผลได้ (พนักงานขายต้องเชื่อว่าตนสามารถทำได้)  วัตถุประสงค์จะต้องระบุถึงสิ่งที่จะทำแต่ไม่ใช่ว่ามันจะถูกกระทำได้อย่างไร 
สมมติว่าเรามอบหมายการขายซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้วางแผนการขายดังแสดงในตาราง
ตาราง  เกณฑ์ที่พนักงานขายใช้วิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันของการขาย

ปริมาณการขาย                                                                                       150,000,000 บาท
จำนวนลูกค้า                                                                                                       400
จำนวนพนักงานขาย                                                                                           20
ต้นทุนการขาย (เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์การขาย)                                            6%
การติดต่อโดยเฉลี่ยต่อวันต่อพนักงานขายหนึ่งคน                                       5
ผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์การขาย                            5%
เปอร์เซ็นต์ของแรงงานการขายที่มีความรู้ด้านสินค้าเป็นอย่างดี             90%


เปรียบเทียบปัจจุบันกับอนาคต เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเหล่านี้เกี่ยวกับองค์กรการขายของเราแล้วการเปรียบเทียบวัตถุประสงค์สำคัญของบริษัทในปัจจุบันกับวัตถุประสงค์สำคัญที่เราปรารถนาจะมีปรากฏในตาราง เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
-  เพิ่มยอดขายประมาณ 10 ล้านบาท
-  หาลูกค้าใหม่ 50 ราย
-  ลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการขายไป 4% ของยอดขาย
-  ให้ได้มาซึ่งพนักงานขายผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค 100%
ด้วยสิ่งเหล่านี้จะมาเป็นวัตถุประสงค์ในปีหน้า ทุกสิ่งที่บริษัทและพนักงานขายของบริษัททำควรจะมุ่งเน้นที่การบรรลุสิ่งเหล่านี้ ความคิดในการยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักนี้ (Objective-Based thinking จะช่วยให้บริษัทสามารถแบ่งแยกกิจกรรมที่สำคัญได้จากกิจกรรมที่ไม่สำคัญและควรช่วยให้สิ่งต่างๆ ทุกสิ่งที่ทำถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์เหล่านี้จะต้องทำให้รับงานมอบหมายทั้งหมดตลอดปีนั้นเอง




สนใจข้อมูลทางธุรกิจเพิ่มเติม ค้นหาข้อมูลได้ที่ www.dollarsrich.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น